ให้บริการถ่ายเอกสาร พริ้นต์งาน สี ขาวดำ จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เอกสารทั่วไป เอกสารประชุม สัมมนา แผนการสอน รายงานและวิจัยต่างๆ ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี โดยให้บริการลูกค้าทั่วไป รวมถึงหน่วยงาน ภาครัฐ บริษัท ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ อีกทั้งดำเนินการด้วยเครื่องถ่ายเอกสารที่ทันสมัย ด้วยเครื่องพรินต์สี Digital Press Production โดยเน้นคุณภาพ ราคาประหยัด และต้องการสร้างภาพจำ ให้ลูกค้าจำผลงาน จำร้านของเราได้ เปิดทำการ วันจันทร์ - เสาร์ เวลา 8.00 น. – 18.00 น.

ถ่ายเอกสารขาวดำ

ถ่ายเอกสารสี ปริ้นสี

ปัจจุบันสามารถให้คุณภาพงานพิมพ์ ได้เหมือนการพิมพ์ออฟเซ็ต และสามารถผลิตงานจำนวนน้อยๆ ตามต้องการได้ อุปกรณ์หรือขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการพิมพ์ออฟเซ็ตเช่น การทำฟิลม์, การทำเพลต ไม่ต้องมีขั้นตอนเหล่านี้, สามารถพิมพ์งานออกจากไฟล์ดิจิตอลได้โดยตรง. จึงสามารถพิมพ์งานพิมพ์ จำนวนน้อยเช่น 10 ชุด, 50 ชุดได้ในเวลาสั้นๆ, เวลาเร่งด่วน, และราคาไม่แพง

พิมพ์บนวัดสุกระดาษเป็นหลัก และวัสดุอื่น เช่น สติกเกอร์PP ความหนาสูงสุดถึง 300 แกรม

สามารถพิมพ์ได้ความเร็วสูงสุด 65/75 หน้าต่อนาที

วิธีเข้าเล่มหนังสือ

มีข้อดีข้อเสียต่างกัน จะเลือกแบบไหนต้องดูหลายๆ อย่างประกอบกัน เช่น ดีไซน์ ความหนาของเล่ม น้ำหนักหนังสือ ขนาดเล่ม ประเภทกระดาษเนื้อใน ผู้อ่าน หรือกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณตามความต้องการ ของผู้นำไปใช้งาน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการออกแบบ เพราะการออกแบบเพื่อนำเข้าไปเข้าเล่ม จะต้องคำนึงถึงในการจัดวางเพื่อนำไปเข้าเล่ม ไฟล์งานที่พิมพ์ออกมาต้องมีความสอดคล้องนั้นเอง

การเข้าเล่มแบบไสกาว

นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท นิตยสาร, แค๊ตตาล๊อค, Photo book รายงานประจำปี และวารสาร ตำราเรียน จำนวนหน้า ที่เหมาะแก่การไสกาว 30 -150 หน้า หรือความหนาของสัน เริ่มต้น ตั้งแต่ 0.5 มม. ความหนา ตั้งแต่ 70 – 120 แกรม

การเข้าเล่มแบบมุงหลังคา

คือการเข้าเล่มในลักษณะที่เรียกว่า Booklet นั้นคือ การจัดการ เรียงหน้าแบบหน้าไขว้ สลับฟันปลา หากไม่ต้องการชิ้นงานมีหน้าว่าง เกิดขึ้น จำนวนหน้าในการเข้าเล่มแบบนี้จะต้องหาร 4 ลงตัว กล่าวคือ เริ่มต้นด้วนจำนวนหน้า 8,12,16,20,24,28……หน้า แต่ไม่ควรเกิน 60 หน้า ความหนาของกระดาษที่นำมาเข้าเล่มแบบมุงหลังคา ตั้งแต่ 70 – 160 แกรม นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท นิตยสาร, แค๊ตตาล๊อค, Photo book, รายงานประจำปี, วารสาร และเมนูอาหาร

การเข้าเล่มแบบเข้าสันห่วง ( กระดูกงู ) สันเกลียว ( สปริง ) สันขดลวด ( ห่วงเหล็ก )

คือการเข้าเล่มโดยการ เจาะรูบนตัวงานเป็นแถวเดียวกัน เพื่อใช้ในการร้อยห่วง นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการ เข้าเล่มประเภท เมนูอาหาร และแค๊ตตาล๊อคสินค้า จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การเข้าหมุด 8 หน้าเป็นต้นไป ความหนาของกระดาษที่นำมาเข้าเล่มแบบเข้าห่วง ตั้งแต่ 160- 350 แกรม นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการ เข้าเล่มประเภท แค๊ตตาล๊อค และเมนูอาหาร

การเตรียมไฟล์สำหรับส่งให้ทางเรา